วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2555

ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ

     ปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ 
     ทุกวันนี้หลายแห่งทั่วโลกประสบปัญหาจากปรากฎการณ์ธรรมชาตินานารูปแบบ สาเหตุอาจจะมาจากฝีมือมนุษย์ที่ทำร้ายธรรมชาติเรื่อยมาหรือเกิดจากธรรมชาติเองโดยตรง มีทั้งที่เป็นอันตรายและไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
     ปรากฎการณ์ธรรมชาติ ที่เรียกว่า ปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ หรือ ปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีนั้น เป็นหนึ่งในปรากฎการณ์ธรรมชาติก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ปรากฎการณ์ดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้ในทะเลทั่วโลก ไม่เลือกเวลาและสถานที่ ปัจจุบันพบว่า มีการเกิดขึ้นทุกๆปี บ่อยครั้งขึ้นและมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยนั้น ส่วนมากพบบริเวณอ่าวไทยตอนใน จังหวัดชลบุรี ตั้งแต่ชายหาดบางแสน อ่าวอุดม อ่างศิลา ไปจนถึงอำเภอศรีราชา ระยะเวลาที่เกิดประมาณเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝน มีฝนตกติดต่อกันหลายวัน มีเมฆครึ้มในเวลากลางวันและมีคลื่นลมแรง
     สาเหตุและกลไกของปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬนั้น ยังไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจน แต่สาเหตุที่พบในบริเวณแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก จังหวัดชลบุรีนั้น นักวิทยาศาสตร์วิจัยพบว่า เกิดจากการเจริญเติบโตและการเพิ่มปริมาณของแพลงตอนพืช(สาหร่ายขนาดเล็ก) อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีปริมาณธาตุอาหารสูงและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม แพลงตอนพืชส่งผลให้น้ำทะเลเปลี่ยนสี ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละแห่งทั่วโลก เช่น สาหร่ายพวกไดโนแฟลกเจลเลต เป็นสาเหตุของน้ำเปลี่ยนสีที่สำคัญของประเทศจีน ฮ่องกง และญี่ปุ่น สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว เป็นสาเหตุของทะเลเปลี่ยนสีในทะเลบอลติก สำหรับประเทศไทยสาหร่ายที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเปลี่ยนสีของน้ำทะเล ได้แก่ สาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียวในสกุลไตรโคเดสเมียม และไดโนแฟลกเจลเลตในสกุลนอติลูกา ซึ่งแพลงตอนพืชจำพวกนี้จะมีสีในตัวเอง เมื่อเกิดการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก จึงก่อให้น้ำทะเลบริเวณนั้นๆเปลี่ยนสีไปตามสีของแพลงตอนชนิดนั้นนั่นเอง เช่น สีน้ำตาล เหลือ ขาว น้ำตาลแดง หรือสีสนิมเหล็ก และเมื่อแพลงตอนพืชเหล่านี้ตายลงจะถูกคลื่นพัดพาเข้าฝั่ง และเกิดการเน่าเสีย น้ำทะเลจะมีลักษณะเป็นเมือกเหนียว มีกลิ่นคาวจัด ออกซิเจนลดลง แอมโมเนียสูงขึ้นเนื่องจากการใช้ออกซิเจนและการสลายตัวของแพลงตอน






      ผลกระทบที่เกิดจากปรากฎการณ์ขี้ปลาวาฬ ก่อให้เกิดความเสียหายหลายด้าน ดังนี้
  1. เกิดผลกระทบต่อจิตใจและความเชื่อมั่นของประชาชนในพื้นที่ที่เกิดปรากฏการณ์ดังกล่าว เพราะ
ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการปล่อยน้ำเสียลงทะเล โดยเฉพาะสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม และที่สำคัญประชาชนไม่สามารถตรวจสอบปรากฎการณ์ดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง
  2. มีผลกระทบต่อระบบนิเวศชายฝั่ง และสัตว์น้ำหลายชนิดตายเป็นจำนวนมาก
  3. ชายหาดมีความสกปรก มีกลิ่นเหม็น เกิดมลพิษทางอากาศ ทำให้ระบบหายใจของประชาชนที่อาศัย
บริเวณนั้นมีปัญหา รวมทั้งทัศนียภาพไม่น่ารื่นรมย์
  4. มีผลกระทบต่อการประมงชายฝั่ง เช่น การทำโป๊ะ อวนลาก อวนติดตา เกิดปัญหาจับสัตว์น้ำได้น้อยลงและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง เช่น ฟาร์มเลี้ยงลูกกุ้งกุลาดำ ซึ่งจะเกิดการขาดทุนเนื่องจากต้องซื้อน้ำจากบริเวณอื่นมาใช้ รวมทั้งการเลี้ยงปลาในกระชัง ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
  5. ประชาชนขาดความมั่นใจในการบริโภคสัตว์ทะเลในระยะดังกล่าว
  6. ผลกระทบต่อการท่องเที่ยว เนื่องจากน้ำทะเลสกปรก มีกลิ่นเหม็น จึงทำให้นักท่องเที่ยวลดลง

     ผลกระทบต่างๆข้างต้น เป็นตัวบ่งชี้ได้ว่า หากเกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬหรือน้ำทะเลเปลี่ยนสีขึ้นนั้น จะนำมาซึ่งความเสียหายหลายด้าน มีผลกระทบทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็นธุรกิจหรือสิ่งแวดล้อม หากในอนาคตมีวิธีการแก้ไขหรือเตือนภัยทันท่วงที ก็จะลดความเสียหายในด้านต่างๆลงได้ โดยเฉพาะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

Killer Whale Riding Show

Killer Whale Riding



ขี้ปลาวาฬ



Pic_36542





    ชาวประมงพังงา ออกเรือเก็บ "ขี้ปลาวาฬ" หรืออัมพัน กลางทะเล ชี้นำไปสกัดเป็นน้ำหอมคุณภาพดี และทำเป็นยารักษาโรคบางอย่างได้ มีราคาซื้อ-ขายกันอยู่ที่กิโลกรัมละนับหมื่นบาท .... 

    ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (30ก.ย.) ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า ที่บ้านหินลาด ม.3 ต.คุระ อ.คุระบุรี จ.พังงา มีชาวประมงพื้นบ้านออกหาปลาในทะเลพบ ขี้ปลาวาฬ หรือ อำพัน ลอยอยู่กลางทะเลเป็นจำนวนมาก และบางส่วนได้ถูกคลื่นซัดเข้ามาติดอยู่ตามบริเวณโขดหินและชายหาดซึ่งขี้ปลาวาฬ สามารถนำไปสกัดเป็นน้ำหอมคุณภาพราคาสูง และสามารถทำเป็นยารักษาโรคบางอย่างได้ ซึ่งชาวบ้านจำนวนมากได้ออกทะเลเพื่อเก็บขี้ปลาวาฬ มาขายให้กับพ่อค้า ซึ่งมีราคาประมาณ 30,000 – 50,000 บาทต่อกิโลกรัม  


    นายสุพจน์ จันทราภรณ์ศิลป์ ผู้เชี่ยวชาญฯ สถาบันวิจัย และพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ขี้ปลาวาฬชนิดนี้เป็นปลาวาฬหัวทุยขนาดลำตัวยาว 20–25 เมตร น้ำหนัก 20–30 ตัน ซึ่งจะชอบกินอาหารประเภทปลาหมึกเป็นพิเศษ สาเหตุสำคัญของการเกิดขี้ปลาวาฬ เนื่องจากส่วนของอาหารที่กินเข้าไปยังย่อยไม่ได้ที่จะสะสมอยู่ในกระเพาะอาหาร ในรูปของไขมัน เมื่อสะสมนานเข้าจะจับตัวเป็นก้อนไขมัน เรียกว่า อัมพัน ซึ่งมีขนาดใหญ่มากอยู่ในกระเพาะ และจะถ่ายออกมาเรื่อยๆ พร้อมกับขี้ ซึ่งส่วนที่เป็นขี้จริงๆจะสลายไป ส่วนที่เป็นไขมัน หรือที่เรียกว่าอัมพันยังจับเป็นก้อนลอยอยู่ตามผิวน้ำในทะเล ซึ่งมักจะพบอยู่ในปลาวาฬตัวใหญ่ๆ ส่วนประโยชน์นั้น สามารถนำไปสกัดเป็นหัวน้ำหอมที่มีราคาแพงมาก ซึ่งปกติจะมีไม่มากขนาดนี้ แต่ที่ชาวบ้านไปพบในครั้งนี้มีมากกว่าปกติทั่วไป ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก  

     นายสมชาย บุญเทียม อายุ 40 ปี อาชีพประมงพื้นบ้านเจ้าของขี้ปลาวาฬ อยู่ 83/25 บ้านหินลาด ม.3 ต.คุระ อ.คุระบุรี จ.พังงา กล่าวว่า ขณะตนเองออกเรือหาปลาบริเวณใกล้เกาะระ – เกาะพระทอง ได้มองเห็นวัตถุเป็นก้อนสีเหลืองขนาดต่างๆ เป็นจำนวนมากลอยปริ่มน้ำอยู่กลาง ทะเล จึงเก็บขึ้นมาดู พบว่าเป็นขี้ปลาวาฬ ซึ่งตนเองเคยเก็บมาได้แล้วครั้งหนึ่งเมื่อก่อนเกิดเหตุคลื่นยักษ์สึนามิ จึงทำให้ทราบว่าสามารถนำไปขายเป็นราคาได้ จึงเก็บมาไว้ที่บ้าน เพื่อเตรียมนำไปขายให้กับพ่อค้าที่มารับซื้อ โดยครั้งก่อนเคยนำไปขายให้กับพ่อค้าที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาในราคากิโลกรัมละ 3,000 บาท แต่มาทราบในภายหลังว่าขี้ปลาวาฬดังกล่าวมีราคาซื้อ-ขายกันกิโลกรัมละนับหมื่นบาท

ปลาวาฬ ที่ เกาะเสม็ด







เด็กขี่ปลาวาฬ!!




ปลาวาฬ whale



วาฬ ชาวไทยนิยมเรียกว่า ปลาวาฬ ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง ออกลูกเป็นตัว มีขนาดตัวใหญ่มหึมา และเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
บรรพบุรุษของวาฬ เชื่อว่าเป็นสัตว์กินเนื้อบนบกในสมัยพาลิโอซีน เมื่อประมาณ 65 ล้านปีก่อน จากนั้นก็วิวัฒนาการเริ่มใช้ชีวิตแบบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำภายในเวลาเพียง 10 ล้านปีต่อมาในสมัยอีโอซีน หรือเมื่อประมาณ 55 ล้านปีก่อน โดยจากสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำจากนั้นขาหลังก็ค่อยหดและเล็กลงจนต่อมาเมื่อประมาณ 24-26 ล้านปี ก่อนกระดูกและข้อต่อก็หดเล็กลงจนไม่มีโผล่ออกมาให้เห็น แต่ในปัจจุบันกระดูกส่วนของขาหลังก็ยังคงมีอยู่โดยเป็นอวัยวะภายในที่มีขนาดเล็ก และทำหน้าที่เพียงเป็นที่ยึดติดของอวัยวะสืบพันธุ์เท่านั้น